อาหารของคนเหนือ

อาหาร
คนไทยทางภาคเหนือนิยมรับประทานข้าวเหนียวเป็นหลักทั้ง 3 มื้อ ส่วนกับข้าวก็จะเป็นพวกเนื้อสัตว์ (เนื้อวัว เนื้อควาย หมู ไก่ ปลา) อาหารทะเลมีน้อยมาก และยังมีความเชื่อว่าถ้ากินอาหารทะเลจะผิดผญาด คือ เป็นโรคผิดสำแดง หรือ แสลง ผักต่าง ๆ ถั่วต่าง ๆ ลักษณะการประกอบอาหารก็จะมีทั้งชนิดแห้งและน้ำ เช่น ลาบ ลู่ ไส้อั่ว ชิ้นหมู เอาะ แกงฮังเล แกงอ่อม แกง โฮะ แกงผักกาดจอ เป็นต้น
มีอาหารชนิดหนึ่งที่ชาวบ้านต้องมีไว้ประจำครัวเรือน เรียกว่า “ถั่วเน่า” คือ ถั่วเหลืองที่นำไปหมักแล้วนำมาทำเป็นแผ่นบาง ๆ แบน และทำเป็นแผ่นกลม ๆ พอนำไปตากแดดแห้งแล้วจะนำมาร้อยเป็นพวงด้วยตอกไม้ไผ่ นำไปเก็บไว้ในครัว ถั่วเน่าจะนำไปผสมลงในแกงหรืออาหารอย่างอื่นได้หลายอย่าง
ที่จริงการใช้ถั่วเหลืองมาประกอบอาหารกินเป็นประจำนั้นถือว่าถูกต้องและเป็นความฉลาดของคนภาคเหนือ เพราะถั่วเหลืองนอกจากจะมีคุณค่าทางอาหารสูงแล้วยังให้พลังงานสูงด้วย
ยังมีอาหารอีกชนิดหนึ่งที่ควรกล่าวไว้ คือ ลู่ ซึ่งเป็นประเภทอาหารคาวและยังดิบ ๆ อยู่
ลู่ คือลาบทางภาคเหนือแต่มีเลือดผสมด้วย ลู่ทำจากเนื้อหมู วัว ควาย นำมาสับให้ละเอียด ผสมด้วยเครื่องเทศ มีเครื่องในสัตว์หั่นเป็นชิ้น ๆ ผสมลงไปด้วยก็ได้ รสจะเปรี้ยว เค็ม เผ็ด รสร้อนแรง นิยมกินกับเหล้า และมีผักต่าง ๆ มาแกล้ม ทางภาคอีสานลักษณะคล้ายกัน เรียกว่า ลาบเลือด แต่มีลักษณะเหลว ไม่ข้นเหมือนลู่ทางภาคเหนือ (สนิท สมัครการ :20-77)

ศิลปะและดนตรี

ศิลปะและดนตรี

คนภาคเหนือมีชีวิตอยู่กับธรรมชาติจึงมีจิตใจอ่อนโยน เป็นคนมีนิสัยรักความงาม รักศิลปะและดนตรี ด้านศิลปะนับว่ามีความชำนาญเป็นเยี่ยม ชายชาวเหนือมีฝีมือด้านช่างเป็นเยี่ยม งานศิลปะเด่น ๆ เช่น งานปูนปั้น งานแกะสลักไม้ การทำเครื่องเงิน เครื่องเขิน ล้วนแสดงให้เห็นถึงฝีมือทางด้านศิลปะที่งดงามยิ่ง
ทางด้านดนตรีและการละเล่นก็จะมีวงดนตรีที่เรียกว่า วงสะล้อ ซอ ซึง ส่วนการฟ้อนก็จะมีฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน การละเล่นพื้นบ้านก็มีการจ้อย การซอ (ลักษณะคล้ายหมอลำทางภาคอีสาน) ซึ่งแสดงเป็นเรื่องราว แสดงการขับเกี้ยวพาราสีกัน การแสดงซอพื้นเมืองจะปรากฏให้เห็นตามงานเทศกาลทั่วไป ปัจจุบันแม้จะลดน้อยลงไปบ้าง แต่ก็ยังเป็นที่นิยมกันอยู่

ศาสนาและความเชื่อ

ศาสนาและความเชื่อ
คนภาคเหนือก็เหมือนกับคนไทยส่วนใหญ่ ความเชื่อแต่เดิมก็เชื่อเรืองผีเช่นเดียวกัน แต่ละบ้าน แต่ละตระกูลก็จะมีผีประจำบ้าน ประจำตระกูล ดังนั้น แต่ละหมู่บ้านหรือแต่ละบ้านก็มีประเพณีเลี้ยงผี เช่น ผีปู่ย่า ผีมด ผีเมง ผีเสื้อเมือง เป็นต้น เมื่อพุทธศาสนาแพร่มายังภาคเหนือ คนไทยภาคเหนือก็รับเอาพุทธศาสนาเป็นสรณะ ชาวเหนือเป็นพุทธมามกะที่ดีและปฏิบัติศาสนกิจเคร่งครัดมาก แทบทุกหมู่บ้านจะมีวัดประจำหมู่บ้าน พ่อแม่ที่มีลูกชายจะนิยมให้ลูกชายบวชเรียน และนิยมให้ลูกชายบวชเณร ที่แม่ฮ่องสอน เรียกว่า ประเพณีบวชลูกแก้ว เมื่อลูกชายย่างเข้า 9 ปี พ่อแม่ถือลูกชายยังบริสุทธิ์ผุดผ่อง เหมาะที่จะบวช จึงทำพิธีบวชลูกแก้ว พิธีนี้จัดกันอย่างใหญ่โต แต่ละครอบครัวที่มีลูกชายวัยเดียวกันมักจะนัดมาบวชพร้อมกัน มีการแต่งตัวให้นาคอย่างงดงามเหมือนเครื่องทรงกษัตริย์ เมื่อเข้าขบวนแห่ก็ให้ขึ้นหลังม้ากางสัปทน (ร่ม) จัดขบวนแห่อย่างสวยงามไปบวชที่วัด เมื่อบวชเป็นเณรก็เรียนหนังสือศึกษาพุทธศาสนาที่วัด พออายุได้ประมาณ 19 ปีก็ลาสิกขา แล้วจะมีคำนำหน้าว่า “น้อย” เช่น น้อยไชยา ส่วนผู้ที่บวชเป็นพระต่อถ้าสึกออกมาเป็นฆราวาสก็จะมีคำนำหน้าว่า “หนาน เช่น หนานโฮะ หนานอินตา เป็นต้น


ที่มา:http://www.thaifolk.com/doc/northen.htm

การแต่งกายของภาคเหนือ

การแต่งกายของภาคเหนือ


การแต่งกายของคนภาคเหนือที่เป็นชาวบ้านทั่วไป ชายจะนุ่งกางเกงขายาวลักษณะแบบกางเกงขายาวแบบ 3 ส่วน เรียกติดปากว่า “เตี่ยว” หรือ เตี่ยวสะดอ ทำจากผ้าฝ้าย ย้อมสีน้ำเงินหรือสีดำ ส่วนเสื้อก็นิยมสวมเสื้อผ้าฝ้ายคอกลม แขนสั้น แบบผ่าอก กระดุม 5 เม็ด สีน้ำเงินหรือสีดำ เช่นเดียวกัน เรียกว่า เสื้อม่อฮ่อม ชุดนี้ใส่เวลาทำงาน
สำหรับหญิงชาวเหนือจะนุ่งผ้าซิ่น(ผ้าถุง)ยาวเกือบถึงตาตุ่ม นิยมนุ่งทั้งสาวและคนแก่ ผ้าถุงจะมีความประณีต งดงาม ตีนซิ่นจะมีลวดลายงดงาม ส่วนเสื้อจะเป็นเสื้อคอกลม มีสีสัน ลวดลายสวยงามเช่นเดียวกัน เรื่องการแต่งกายนี้ หญิงชาวเหนือจะแต่งตัวให้สวยงามอยู่เสมอ ชาวเหนือถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ จนถึงกับมีคำสุภาษิตของชาวเหนือสั่งสอนสืบต่อกันมาเลยว่าตุ๊กบ่ได้กิน บ่มีไผตามไฟส่องต้อง
ตุ๊กบ่ได้นุ่งได้ย่อง ปี้น้องดูแควน
ทุกข์(จน)ไม่มีจะกิน (อิ่มหรือหิว) คนไม่รู้ (ไม่มีใครเอาไฟมาส่องดูในท้องได้) ทุกข์(จน)เพราะไม่มีอะไรมาแต่งตัว (คนเห็น) ญาติพี่น้องดูถูกเอาได้

อุปนิสัย
คนไทยภาคเหนือเป็นคนรักสงบ มีนิสัยสุภาพอ่อนโยน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ที่สำคัญคือ ให้การต้อนรับทุกคนเป็นอย่างดี หากใครเดินผ่าน เขาจะทักทายปราศรัย พูดคุย หากใครไปที่บ้านก็จะให้การต้อนรับเป็นอย่างดี โดยเฉพาะสตรีชาวเหนือ หากใครทักทายก็จะทักทายพูดคุยด้วยไมตรีเสมอวัฒนธรรมเช่นนี้บางครั้งอาจทำให้คนต่างถิ่นเกิดความเข้าใจผิดได้

อาชีพของคนภาคเหนือ

ชาวเหนือส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา ทำไร่ การทำนาส่วนใหญ่จะเป็นนาดำ ที่ลุ่มมาก ๆ จึงทำนาหว่าน คนเหนือปลูกข้าวเหนียวกันเป็นส่วนใหญ่ เพราะบริโภคข้าวเหนียว ข้าวเหนียวภาคเหนือถือเป็นข้าวที่มีคุณภาพดี นึ่งสุกแล้วขาวสะอาด อ่อนและนิ่มน่ารับประทาน ข้าวพันธ์ที่มีชื่อเสียง คือ ข้าวสันป่าตอง นอกจากทำนาแล้วยังปลูกพืชไร่อื่น ๆ เช่น หอม กระเทียม ถั่ว ยาสูบ เป็นต้น นอกจากปลูกข้าวแล้ว อาชีพทำสวนก็เป็นที่นิยมกัน โดยเฉพาะทำสวนลำไย และลิ้นจี่ นอกจากจะขายให้คนไทยได้รับประทานแล้ว ยังส่งขายต่างประเทศอีกด้วย
ยังมีอาชีพอีกอย่างหนึ่งซึ่งเป็นวัฒนธรรมของชาวเหนือ คือ การทำเมี่ยง ชาวเหนือชอบกินหมากและอมเมี่ยง โดยเอาใบเมียงที่เป็นส่วนใบอ่อนมาหมักให้มีรสเปรี้ยวอมฝาด เมื่อหมักนานได้ที่ เวลาจะเอาใบเมี่ยงมาอม ก็ผสมเกลือเม็ดหรือของกินอย่างอื่นแล้วแต่ชอบ
นอกจากการอมเมี่ยง คนล้านนาทั้งหญิงและชายจะสูบบุหรี่ที่มวนด้วยใบตองกล้วย มวนหนึ่งขนาดเท่านิ้วมือ และยาวเกือบคืบ ชาวบ้านเรียกบุหรี่ชนิดนี้ว่า “ขี้โย” หรือ “บุหรี่ขี้โย” ที่นิยมสูบกันมากอาจเนื่องมาจากอากาศหนาวเย็น การสูบบุหรี่คงทำให้ร่างกายอบอุ่นขึ้น
นอกจากอาชีพเกษตรกรรม ชาวเหนือยังประกอบอาชีพอื่น อาจเรียกได้ว่าเป็นหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรมในครัวเรือนก็ได้ คือ ผู้หญิงจะทอผ้าเมื่อเสร็จจากการทำนา นอกจากนั้นยังมีการแกะสลัก การทำเครื่องเงิน เครื่องเขิน และการทำเครื่องเหล็ก เป็นต้น
การทำร่ม
รูปภาพการทำพัดและร่มที่บ่อสร้าง
การแกะสลัก
รูปภาพเพิ่มเติมที่บ้านถวาย
ที่มา:http://www.thaifolk.com/doc/northen.htm

วิถีชีวิตของชาวเหนือ

วิถีชีวิตของชาวเหนือ

คนไทยในอาณาจักรล้านนามีชีวิตและความเป็นอยู่โดยการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา หุบเขา มีพื้นที่ราบจำนวนน้อย คือ ประมาณ1/4 ของพื้นที่ทั้งหมด ชาวบ้านทำนาแบบนาทดน้ำ พื้นที่สูงปลูกข้าวไร่ พื้นที่ที่ราบในแอ่งเขาอุดมสมบูรณ์ ปลูกข้าว และพืชอื่น ๆ ได้ดี คือ พื้นที่ราบแอ่งเชียงใหม่ ลำพูน และแอ่งเชียงราย ส่วนลำปาง แพร่ น่าน ผลิตข้าวได้น้อย ระบบเศรษฐกิจเป็นแบบผลิตเพื่อให้พออยู่พอกิน การติดต่อค้าขายระหว่างกันก็จะเป็นประเภทวัวต่าง สินค้ามีของป่า เกลือ ผ้า อัญมณี เป็นต้น ส่วนการค้าขายในหมู่บ้านก็จะมี “กาดมั่ว” ใครมีของอะไรก็นำมาวางขายได้
คนไทยภาคเหนือนิยมปลูกบ้านอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เป็นหมู่บ้าน หากพื้นที่ใดอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทำนา มีแม่น้ำไหลผ่าน ก็จะมีหมู่บ้านตั้งเป็นระยะ ๆ เรื่อยไปตามแม่น้ำ ลักษณะบ้านจะเป็นบ้านไม้ยกสูง มีใต้ถุนโล่ง เป็นที่เก็บของเครื่องมือทำเกษตร และเป็นที่ทำงานหรือพักผ่อนยามว่างได้ด้วย บ้านของชาวเหนือนิยมมุงกระเบื้องหรือชาวบ้านเรียกว่าดินขอ หรือบางครั้งก็มุงด้วยแผ่นไม้สักซึ่งทำเป็นแผ่นเล็ก ๆ แต่โตกว่าแผ่นกระเบื้อง แผ่นไม้สักนี้จะทนแดดทนฝน ถ้าคัดเลือกไม้อย่างดีจะอยู่ได้เกิน 50 ปีขึ้นไปเลยทีเดียว
ถัดจากบ้านก็จะเป็นยุ้งข้าวขนาดใหญ่เล็กตามฐานะ นอกจากนั้นก็จะมีสัตว์เลี้ยง เช่น ไก่ เป็ด วัว ควาย ม้า ถัดบ้านก็เป็นสวนผลไม้ซึ่งรวมถึงพืชผักที่ใช้ประกอบอาหารด้วย
ชาวล้านนามีลักษณะเหมือนคนไทยทั่วไป แต่เป็นเชื้อสายไทยยวน หรือโยนก คนล้านนาเองเรียกคนกลุ่มเดียวกันว่า “คนเมือง” ลักษณะเด่นกว่าคนไทยกลุ่มอื่นคือ ผิวค่อนข้างขาว รูปร่างสันทัดไม่สูง ไม่เตี้ยเกินไป ส่วนใหญ่รูปร่างผอมบาง มีภาษาที่เป็นภาษาถิ่นของตัวเอง หรือที่เข้าใจกันว่า “คำเมือง” ภาษาไทยเหนือมีระบบตัวอักษรบันทึกที่เรียกว่า “อักษรล้านนา” บันทึกเรื่องราวทางพุทธศาสนา คัมภีร์ต่าง ๆ ตลอดจนกฎหมายและความรู้ภูมิปัญญาชาวบ้าน อักษรล้านนานี้ดัดแปลงมาจากอักษรมอญเดิม มีอายุรุ่นเดียวกับอักษรพ่อขุนรามคำแหง หรืออาจเก่ากว่านั้นอีก

ประวัติของภาคเหนือ



ภาคเหนือ

เป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทย พื้นที่ทางภาคเหนือของประเทศไทย มีอาณาเขตติดกับประเทศพม่า จีน และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทางด้านการปกครอง ภาคเหนือประกอบด้วยจังหวัดต่าง ๆ 15 จังหวัด คือ พิษณุโลก พิจิตร กำแพงเพชร ตาก สุโขทัย แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา และแม่ฮ่องสอน (สนิท สมัครการ 2520:2) ทั้ง 15 จังหวัดนี้แม้จะรวมกันเรียกว่าภาคเหนือ ก็ยังมีลักษณะเฉพาะที่ต่างกันอยู่บ้าง เช่น กลุ่มพิษณุโลก พิจิตร สุโขทัย กำแพงเพชร มักเรียกว่าภาคกลางตอนบน เพราะวัฒนธรรมมีส่วนคล้ายกับภาคกลาง จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีวัฒนธรรมที่มีลักษณะเป็นกลุ่มไทยใหญ่ผสมกับพม่า เพชรบูรณ์ ลักษณะโน้มไปทางภาคอีสาน ที่เป็นกลุ่มวัฒนธรรมภาคเหนือจริง ๆ คือ จังหวัดลำปาง ลำพูน เชียงใหม่เชียงราย พะเยา กลุ่มจังหวัดดังกล่าวนี้เรียกว่า คนเมือง หรือ ยวน หรือ ไทยยวนซึ่งหมายถึงโยนก ส่วนจังหวัดแพร่ และน่าน ก็มีลักษณะของตัวเองเช่นเดียวกัน

คนภาคเหนือในประวัติศาสตร์
เดิมคนไทยแยกกันอยู่เป็นกลุ่ม ๆ กระจัดกระจายอยู่ในแหลมอินโดจีน ชาวไทยที่อยู่ทางภาคเหนือจะตั้งบ้านเรือนอยู่พื้นที่ราบระหว่างเขา เป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ คนไทยที่อยู่ทางเหนือมีการสร้างบ้านแปงเมือง มีกษัตริย์ปกครองสืบมา ที่ปรากฏชัดเจนคือ อาณาจักรน่านเจ้าอยู่บริเวณแคว้นยูนนานของจีน อาณาจักรนี้ถูกจีนตีแตกเมื่อ พ.ศ. 1796 (กองวัฒนธรรม 2539:41) หลังจากนั้นอาณาจักรเชียงแสนซึ่งเริ่มตั้งเมืองมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 16 ก็เริ่มขยายเป็นอาณาจักรขึ้นแทน ครั้นถึงพุทธศตวรรษที่ 18 คนไทยกลุ่มใหญ่ที่สุดก็รวมตัวกันตั้งบ้านเมืองแยกเป็น 3 อาณาจักรชัดเจน คือ อาณาจักรเชียงแสนอยู่ทางภาคเหนือ อาณาจักรสุโขทัยอยู่ภาคกลางและภาคใต้ อาณาจักรล้านช้างคือดินแดนฝั่งตะวันออกแม่น้ำโขง ปัจจุบันคือประเทศลาวและภาคอีสานของไทย
พญามังรายผู้ก่อตั้งอาณาจักรล้านนา

พญามังรายเป็นโอรสของพญาลาวเมง และนางอั้วมิ่งจอมเมือง (นางเทพคำข่ายหรือคำขยาย) ธิดาท้าวรุ่งแก่นชายเมืองเชียงรุ่ง พญามังรายครองเมืองเงินยาง พ.ศ.1804 ต่อมาขยายอาณาเขตและยึดเมืองหริภุญชัย (เมืองลำพูน) ได้ราว พ.ศ. 1835 สร้างเวียงกุมกามราว พ.ศ. 1837 แต่พื้นที่ตั้งเมืองเป็นที่ลุ่ม น้ำท่วม จึงสร้างเมืองเชียงใหม่ พ.ศ.1839 เชียงใหม่จึงเป็นศูนย์กลางแห่งอาณาจักรล้านนาต่อมา (สรัสวดี อ๋องสกุล 2539:101-107)

อาณาจักรล้านนามีวิวัฒนาการแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ

สมัยสร้างอาณาจักร (พ.ศ.1839-1898) เริ่มจากพญามังรายสร้างเมือง รวบรวมหัวเมืองต่าง ๆ ในแอ่งเชียงรายและขยายอำนาจลงสู่แอ่งเชียงใหม่ ลำพูน โดยรวบรวมเมืองสำคัญไว้ ได้แก่ เชียงราย เชียงแสน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พะเยา และมีการส่งราชบุตรไปครองเมืองเชียงตุง เมืองนาย เป็นต้น มีกษัตริย์ปกครองต่อกัน 5 พระองค์ จนถึงสมัยพญาผายู
สมัยอาณาจักรล้านนารุ่งเรือง (พ.ศ.1898-2068) เริ่มตั้งแต่สมัยพญากือนาจนถึงสมัยพญาแก้ว เป็นระยะเวลา 170 ปี ความเจริญสูงสุด คือ สมัยของพระเจ้าติโลกราช (พ.ศ.1984-2030) สมัยนี้ได้รับยกย่องว่าเป็นยุคทองแห่งล้านนาไทย ได้ขยายอาณาเขตถึงเมืองแพร่ เมืองน่าน แผ่อิทธิผลถึงรัฐฉาน และเมืองหลวงพระบางด้วย ด้านพุธศาสนามีความเจริญรุ่งเรือง มีการสังฆายนาพระไตรปิฏก ครั้งที่ 8 ของโลก
สมัยอาณาจักรล้านนาเสื่อมและสลาย (พ.ศ.2068-2101) เริ่มตั้งแต่สมัยพญาเกศเชษฐราชจนตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าเป็นเวลา 33 ปี ครั้น พ.ศ. 2101 สมัยท้าวแม่กุ บุเรนองก็ยึดเชียงใหม่ จากนั้นล้านนาก็ตกอยู่ใต้อำนายพม่าถึง 200 ปีเศษ จนถึง พ.ศ.2317 สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี เชียงใหม่จึงเป็นเมืองประเทศราชของไทย ต่อมาหัวเมืองทางภาคเหนือก็เป็นจังหวัดต่าง ๆของราชอาณาจักรไทย และมีความเจริญก้าวหน้าตามลำดับจนถึงปัจจุบัน
ลำดับกษัตริย์แห่งล้านนา

1. พญามังราย ครองราชสมบัติ พ.ศ. 1804-1854
2. พญาไชยสงคราม “ พ.ศ. 1854-1868
3. พญาแสนพ “ พ.ศ. 1868-1877
4. พญาคำฟู “ พ.ศ. 1877-1879
5. พญาผายู “ พ.ศ. 1879-1898
6. พญากือนา “ พ.ศ.1898-1928
7. พญาแสนเมืองมา “ พ.ศ.1928-1944
8. พญาสามฝั่งแกน “ พ.ศ.1945-1984
9. พระเจ้าติโลกราช “ พ.ศ. 1984-2030
10. พญายอดเชียงราย “ พ.ศ. 2030-2038
11. พญาแก้ว “ พ.ศ.2038-2068

หลังจากพญาแก้ว อาณาจักรล้านนาก็ตกอยู่ในอำนาจของพม่าเจ้าเมืองเชียงใหม่ในฐานะเมืองประเทศราชของไทย

1. พระจ้ากาวิละ ครองราชสมบัติ พ.ศ. 2325-2356
2. พระยาธรรมลังกา “ พ.ศ. 2358-2364
3. พระยาคำฟั่น “ พ.ศ. 2366-2368
4. พระยาพุทธวงศ์ “ พ.ศ. 2369-2389
5. พระเจ้ามโหตรประเทศ “ พ.ศ. 2390-2397
6. พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ “ พ.ศ. 2399-2413
7. พระเจ้าอินทวิชยายนนท์ “ พ.ศ. 2416-2439
8. พระเจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ “ พ.ศ. 2444-2452
9. พลตรีเจ้าแก้วเนาวรัฐ “ พ.ศ.2454-2482

อาณาจักรล้านนาแบ่งการปกครองออกได้ ดังนี้

บริเวณเมืองราชธานี ได้แก่เมืองเชียงใหม่ ลำพูน อำนาจสิทธิขาดเป็นของพระมหา
กษัตริย์ เป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจเมืองที่ปกครองโดยข้าหลวง หรือเจ้านายเชื้อพระวงศ์ ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับเมือง
หลวงอย่างใกล้ชิด แต่เจ้าเมืองก็มีสิทธิ์และเป็นอิสระในการจัดการปกครองบ้านเมืองเมืองประเทศราช เป็นเมืองที่อยู่ห่างไกล เจ้าเมืองยอมรับความด้อยกว่า โดยส่งบรรณาการมาให้เมืองใหญ่ แสดงความผูกพันซึ่งกันและกัน
ส่วนการปกครองบังคับบัญชาแบ่งยศชั้นเป็นพันนา ซึ่งหมายถึง การแบ่งผืนดินเป็นเมืองต่าง ๆ เช่น เชียงราย 32 พันนา พะเยา
พันนา ฝาง 5 พันนา ผู้ครองพันนามียศเป็น หมื่นนาล่ามนา พันนาหลัง และแสนนา ส่วนพื้นที่ปกครองที่เล็กกว่า คือ ปากนา ปากนาหนึ่งมีคน 500 หลังคาเรือน (สรัสวดี อ๋องสกุล 2538:154-159) การควบคุมแบบพันนานี้จะควบคุมใน 2 ลักษณะ คือ ควบคุมให้มีการส่งส่วยแก่เมืองที่สังกัด และควบคุมการเกณฑ์แรงงาน “เมือง” จะเกณฑ์ได้ทั้งในยามปรกติและในยามสงคราม ดังนั้นการควบคุมจึงหมายถึงให้ผู้มีตำแหน่งดูแลควบคุมไพร่ด้วย


ที่มา:http://www.thaifolk.com/doc/northen.htm

สถานที่Countdown 2553

จังหวัดอุบลราชธานี

จังหวัดอุบลราชธานี
เทศกาลท่องเที่ยวแม่น้ำโขงรับตะวันใหม่ก่อนใครในสยาม ครั้งที่ 9
ความหลากหลาย และคุ้มค่า ณ ดินแดนด้านตะวันออกสุดสยาม

จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดอำนาจเจริญ และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ขอเชิญค้นหาและเติมเต็มประสบการณ์ใหม่ในการท่องเที่ยว ตลอด 62 วันของการเฉลิมฉลองส่งรับตะวันแห่งปี ณ ดินแดนริมฝั่งแม่น้ำโขง ด้านตะวันออกสุดของประเทศไทย ที่อุดมด้วยแหล่งท่องเที่ยวเปี่ยมศักยภาพอันหลากหลาย อาทิเช่น งานไหลโคมล่องโขง ที่ อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี, เทศกาลรับตะวันใหม่ก่อนใครในสยาม ที่ลานหินผาแต้ม และ ผาชะนะได และ งานกาชาติ ของจังหวัดอุบลราชธานี ณ บริเวณ ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานีกำหนดการจัดงาน 1 ธันวาคม 2552 - 31 มกราคม 2553
สถานที่จัดงาน แหล่งท่องเที่ยวตลอดแนวฝั่งโขง ของจังหวัดอุบลราชธานี และอำนาจเจริญ
พิชิตผาชะนะได รับตะวันใหม่ก่อนใครในสยาม ที่ป่าดงนาทาม เยือนป่าใหญ่ริมโขงด้านตะวันออกสุดของประเทศไทย (พิกัด 105 องศา 37 ลิปดา 17 ฟิลิปดา)สัมผัสความหลากหลายของธรรมชาติในบริเวณที่ได้ชื่อว่า มีเสาหิน หรือเสาเฉลียงมากที่สุดในประเทศไทย
พบเส้นทางเดินป่า ศึกษาธรรมชาติริมโขง ทั้งระยะสั้น และระยะยาว ชมทุ่งดอกหญ้าผลานถ้ำไฮ - ผลานยะพืด ชมอัศนีย์อัศจรรย์ที่เสาเฉลียงคู่ หรือหินโยกมหัศจรรย์ Camping รับลมโขงริมน้ำตกห้วยพอก และรับแสงตะวันใหม่ก่อนใครในสยามที่ผาชะนะได
“ป่าดงนาทาม” ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติผาแต้ม อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 55 กม. มีบริการนำเที่ยวเชิงอนุรักษ์ จากชุมชนหลายรูปแบบ เดินป่าศึกษาธรรมชาติ Camping หรือกิจกรรม Home Visit – Home Stay
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อบต. นาโพธิ์กลาง โทร. 0-4538-1063 ; 08-1321-2852 หรืออุทยานแห่งชาติผาแต้ม โทร. 0-4524-6332-3
ทุ่งดอกไม้งามตามรอยเสด็จ
ร่วมชื่นชมและภาคภูมิใจกับทุ่งดอกไม้ป่า บริเวณเหนือน้ำตกสร้อยสวรรค์ 45 ไร่ ที่ชาวอุบลราชธานี ร่วมกันอนุรักษ์ทำนุบำรุง เพื่อรอรับเสด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตร เพื่อศึกษาพันธุ์ไม้ป่าในพื้นที่ดังกล่าว ติดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน รวมแล้ว 6 ครั้ง ตลอดระยะเวลา 7 ปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542
“ทุ่งดอกไม้ ... ตามรอยเสด็จ” ตั้งอยู่บริเวณเหนือน้ำตกสร้อยสวรรค์ ในเขตอุทยานแห่งชาติผาแต้ม อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ทางทิศเหนือตามทางหลวงหมายเลข 2112 ประมาณ 20 กม. สามารถขึ้นชมความงดงามได้ในช่วงเดือน ตุลาคม – มกราคม สอบถามข้อมูลรายละเอียดได้การเข้าชมได้ที่ ที่ทำการอุทยานแห่งชาติผาแต้ม โทร. 045-246332-3


ที่มา:http://www.sadoodta.com/news/รวมงาน-countdown-2010-ทั่วไทย-หาที่เที่ยวปีใหม่

จังหวัดประจวบคีรีขันธ์


จังหวัดประจวบคีรีขันธ์Hua Hin Countdown 2010

วันจัดงาน : วันที่ 25 ธันวาคม 2552 – 2 มกราคม 2553

สถานที่ : Hua Hin Market Village อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์


กิจกรรม:
การแสดงดนตรีจากแนวเพลงหลากหลายสไตล์

และการแสดง Concertจากศิลปินชั้นนำของเมืองไทย
เครื่องเล่น X-Treme game และเครื่องสำหรับเด็กๆ
อิ่มอร่อยกับอาหารนานาชาติจากโรงแรมชั้นนำ
สินค้า Handmade งานนักศึกษา Art & Design
การเล่นเกมส์รับของรางวัลและ จับรางวัลผู้โชคดีที่เข้าร่วมงานเพื่อลุ้นรางวัลรถยนต์, จักรยานยนต์
ตื่นตาตื่นใจกับแสง สี เสียง ในวินาทีของการนับถอยหลังก้าวสู่ปี 2010
การจำหน่ายของที่ระลึกการร่วมงาน Hua Hin Countdown 2010

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานประจวบคีรีขันธ์

โทร 0 32251 3885
 Hua Hin Market Village โทร 0 3261 8888

จังหวัดตรัง


จังหวัดตรัง


ชื่องาน : ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2010 (Trang Countdown 2010)

วันจัดงาน : 31 ธันวาคม 2552 – 1 มกราคม 2553

สถานที่ : ถนนวิเศษกุล บริเวณหน้าเทศบาลนครตรัง
กิจกรรม :

วันที่ 31 ธันวาคม 2552
การแสดงศิลปวัฒนธรรม
การแสดงดนตรี
รำวงโบราณ
การจำหน่ายอาหาร
การประกวดและการแข่งขันต่างๆ
พิธี Countdown
วันที่ 1 มกราคม 2553
เช้า – ทำบุญตักบาตรหน้าเทศบาลนครตรัง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเทศบาลนครตรัง โทร. 0-7521-8017 ต่อ 1164

จังหวัดเชียงราย


จังหวัดเชียงราย


ชื่องาน เชียงราย Countdown 2010

สถานที่: หอนาฬิกา ถนนบรรพปราการ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

วันจัดงาน: 31 ธันวาคม 2552 – 1 มกราคม 2553

กิจกรรม:
การแสดงแสง-เสียง (Light & Sound)
มีการประดับไฟรอบบริเวณ 2 ข้างถนนบรรพการจนถึงหอนาฬิกา โดยเป็นศิลปะของอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์
การแสดงพลุหลายพันชุด และการปล่อยโคมไฟล้านนาหลากหลายสี จำนวน 9,999 ดวง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเชียงราย 0-5371-7434

นครราชสีมา


จังหวัดนครราชสีมา
อำเภอเมือง
1.KORAT COUNTDOWN 2010
สถานที่ : ลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
วันจัดงาน: วันที่ 25 ธันวาคม 2552-2 มกราคม 2553
กิจกรรรม:
ครั้งแรกใจกลางเมืองหนาวเย็นกับโดมหิมะขนาดใหญ่
ทุ่งดอกทิวลิป
คอนเสิร์ตจากศิลปินชื่อดัง
นับถอยหลังในคืนวันที่ 31 ธันวาคม 2552
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม: เทศบาลนครราชสีมา โทร.0-4424-2007 ต่อ 1534


อำเภอปากช่อง
1.งานปากช่องคาวบอยซิตี้ (Countdown 2010)
สถานที่: สวนสาธารณะเขาแคน อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
วันจัดงาน: วันที่ 25-31 ธันวาคม 2552


กิจกรรม:
การแสดงดนตรีคาวบอย
การแสดงของคาวบอยและอินเดียนแดง
การแข่งขันกินข้าวโพดต้ม
การแสดงจำหน่ายสินค้าของดีเมืองปากช่อง
ร่วมนับถอยหลังในคืนวันที่ 31 ธันวาคม 2552
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม: เทศบาลเมืองปากช่อง โทร. 0-4431-2037-8
2. Pakchong Cowboy Festival Countdown 2010
สถานที่: ทองสมบูรณ์ คลับ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
วันจัดงาน: 31 ธันวาคม 2552
กิจกรรม:
การแสดงดนตรีคาวบอย
การแสดงของคาวบอยและอินเดียนแดง
ร่วมนับถอยหลังในคืนวันที่ 31 ธันวาคม 2552 (บัตรราคา 600 บาท/ท่าน รวมค่าเข้าชม อาหาร เครื่องดื่ม)
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม: ทองสมบูรณ์ คลับ โทร. 0-4431-2248, 0-4431-2316

3. เขาใหญ่ คาวบอย เฟสติวัล 2553
สถานที่: ถนนธนะรัชต์ กม.21.5 อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
วันจัดงาน: 25 ธันวาคม 2552 - 3 มกราคม 2553
กิจกรรม:
การแสดงดนตรีคาวบอย
การแสดงคาวบอยและอินเดียนแดง
การแข่งขันกินข้าวโพดต้ม
การแสดงและจำหน่ายสินค้าสไตล์คาวบอย
ร่วมนับถอยหลังปล่อยโคมลอยพันโคมในคืนวันที่ 31 ธันวาคม 2552
การประกวดมิสคาวเกิร์ล/คาวบอยประเภทต่างๆ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม: เขาใหญ่ คาวบอยซิตี้ รีสอร์ท โทร.0-4429-7471-2, 08-7101-8834, 08-4464-5453, 08-6769-37664
4.คลองทรายรีสอร์ท Countdown 2010 Cowboy Night Party

สถานที่: คลองทรายรีสอร์ท อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
วันจัดงาน: 31 ธันวาคม 2552
กิจกรรม:
บรรยากาศสไตล์คาวบอย
ดนตรีกลิ่นไอตะวันตก
การประกวดการแต่งกายแบบคาวบอย คาวเกิร์ล
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม: คลองทรายรีสอร์ท โทร.0-2551-7661-2 www.klongsai.com

5. Juldis Khaoyai Resort and Spa Dinner Party
สถานที่: จุลดิศ เขาใหญ่ รีสอร์ท & สปา อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
วันจัดงาน: 31 ธันวาคม 2552
กิจกรรม:
บุฟเฟห์อาหารนานาชนิด
ดนตรี Trio
เกมจับรางวัลห้องพักและบัตรรับประทานอาหาร
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม: จุลดิศ เขาใหญ่ รีสอร์ท & สปา โทร.0-2556-0251-6, 0-4429-7297
6. LIFE Park Fantasy Night Count Down 2009

สถานที่: เดอะกรีนเนอรี่ รีสอร์ท อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
วันจัดงาน: 31 ธันวาคม 2552
กิจกรรม:
รื่นเริงทั้งครอบครัว ร่วมฉลองปีใหม่ 2553 สุดอลังการผ่าน พบ สัมผัสประสบการณ์ประทับใจ เก็บบันทึกสุดยอดความทรงจำของการเฉลิมฉลองพร้อมในครอบครัวกับงาน LIFE Park Fantasy Night Countdown 2009 ท่ามกลางอ้อมกอดของขุนเขา ที่เย็นสบายใต้แสงดาวระยิบระยับในค่ำคืนแห่งความสุข
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม: เดอะกรีนเนอรี่ รีสอร์ท โทร. 0-4429-7668
www.greeneryresort.com



อำเภอวังน้ำเขียว
1.งานส่งท้ายปีเก่า 2552 ต้อนรับปีใหม่ 2553
สถานที่: กระท่อมหินนันทภัค อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
วันจัดงาน: 31 ธันวาคม 2552-1มกราคม 2553
กิจกรรม:
Walk rally
เกมและการละเล่นต้อนรับมากมาย
ซุ้มอาหารหลากชนิด
การแสดงดนตรีตะวันตก
รับพลังไฟ การแสดงตะบองไฟ
แข่งขันกินส้มตำลีลา
ระบำเผ่าซูลู
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม:กระท่อมหินนันทภัค โทร. 0-4422-8120-2 www.kratomhin.com


2. E-San Classic Night งานส่งท้ายปีเก่า 2552 ต้อนรับปีใหม่ 2553

สถานที่: ฟ้าวารีวังน้ำเขียว อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
วันจัดงาน: 31 ธันวาคม – 1 มกราคม 2553
กิจกรรม:
การประกวดร้องเพลง, อาหารอีสานนานาชนิด
การแสดงการรำ “รำวังน้ำเขียว”
บายสีสู่ขวัญ
การแสดงศิลปะของภาคอีสาน
จุดเทียนพลุนับถอยหลังสู่ปีใหม่
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม:ฟ้าวารีวังน้ำเขียว โทร.08-6250-2768, 08-9630-8450, 08-6878-1982, 08-5202-3854



จังหวัดขอนแก่น


จังหวัดขอนแก่น


จังหวัดขอนแก่น "ขอนแก่น Countdown 2010"

สถานที่: ประตูเมือง จังหวัดขอนแก่น

Date:31 ธันวาคม 2552

กิจกรรม:
-ประดับประดาด้วยไฟตกแต่ง ห้อยระย้ากว่าพันดวง
-สุดอลังการธารน้ำพุเจ็ดสี ที่ทะยานพุ่งสูงกว่า 9 เมตร
-ครั้งแรกของเมืองไทยกับการจัดดอกไม้ให้เป็นผืนพรมยักษ์ Flower carpet
-ร่วมนับถอยหลังกับคอนเสิร์ตจากศิลปินชื่อดัง
-สุดยอดไฮไลท์เคาท์ดาวน์กับแสง สี เสียง คือเทคนิคไพโรเอฟเฟคจากอเมริกา ที่จะสร้างภาพประทับใจบนประตูเมืองขอนแก่นใต้แสงพุ จำนวน 983 นัด
-มหามงคลแห่งการเริ่มต้นชีวิตใหม่กับการรอดประตูเมืองในคืนข้ามปี
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม:
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานขอนแก่น โทร.0-4324-4989

สถานที่Countdown 2010 ณ กทม.



กรุงเทพมหานคร


ชื่องาน HANDS Bangkok Countdown 2010


ระยะเวลาในการจัดงาน 18-31 ธันวาคม 2552


สถานที่ หน้าเซ็นทรัลเวิลด์ บนถนนราชดำริ


จัดโดย CM Event / CMO Group, Central World


สนับสนุนการจัดงานโดย พานาโซนิค /สปาย /มาม่า /ยามาฮ่า และ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย




About HANDS Bangkok Countdown 2010


กว่า 300,00 คนร่วมนับถอยหลังสู่ปีใหม่ร่วมกัน นับแต่ปี2008และ2009 เป็นการตอกย้ำที่สำคัญว่า เทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ HANDS Bangkok Countdown เป็นเทศกาลสากลที่ประชาชนให้ความสำคัญ ถือเป็นงานใหญ่สุดท้ายของปี เพื่อย่างเข้าสู่ปีใหม่ด้วยความเบิกบาน อีกทั้งยังเป็นเทศกาลแห่งความสุข รอยยิ้ม และความยินดี งาน HANDS Bangkok Countdown 2010 จัดขึ้นเป็นปีที่ 3
และเป็นศูนย์กลางแห่งการเฉลิมฉลอง ส่งท้ายปีของชาวไทย และนักท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานครอีกครั้ง เพราะเราเชื่อมั่นว่ากรุงเทพมหานคร เป็นเมืองซึ่งเป็นศูนย์รวมการท่องเที่ยว แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปี่ยมไปด้วยเสน่ห์แห่งรอยยิ้ม และความสวยงามที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวด้วยสีสัน ความสะดวกสบายและความทันสมัยอย่างครบครัน ท่ามกลางการแวดล้อมไปด้วยห้างสรรพสินค้าชั้นนำ ระบบการคมนาคมขนส่งที่ทันสมัย และสิ่งอำนวยความสะดวกอีกมากมาย เพื่อพร้อมที่จะรองรับมหาชน ที่จะเข้าร่วมงานในวันนั้น
การจัดงานในปีนี้ประกอบด้วยการจัดสร้าง Landmark รูปแบบใหม่ “The HANDS Tower” LED Screen แนวตั้ง ที่มีขนาดสูงที่สุดในกรุงเทพ เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งการนับเวลาถอยหลัง และสร้างความตื่นตาตื่นใจในช่วงเวลาเคาท์ดาวน์ยิ่งขึ้น Landmark จะถูกนำมาติดตั้งในเดือนธันวาคม นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมบันเทิง จากกลุ่มศิลปินชื่อดังจากค่ายต่างๆ บนเวทีขนาดใหญ่ อันจะเป็นการส่งเสริมภาพแห่งการเฉลิมฉลองได้อย่างสมบูรณ์ ทั้งยังเป็นการกระตุ้นการใช้จ่าย ของนักท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีด้วยความสำเร็จของ HANDS Bangkok Countdown ในปีที่ผ่านมา ซึ่งมีผู้เข้าร่วมงานปีละกว่า 300,000 คน บริเวณหน้าเซ็นทรัลเวิลด์ บนถนนราชดำริรวมถึงความประทับใจที่ถ่ายทอดสู่ผู้ชมทางบ้านกว่า 30 ล้านคน ผ่านทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เต็มอิ่มกับกิจกรรมบันเทิงจากศิลปินดารามากมาย นอกจากนี้ยังมีกิจกรรม ก่อนวันงานเป็นเวลา 7 วัน ซึ่งทำให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการแบ่งปันความสุขและรอยยิ้ม เพื่อก้าวสู่ช่วงเวลาสำคัญของปีอีกด้วย
สำหรับงาน HANDS Bangkok Countdown 2010 ในปีนี้ จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-31 ธันวาคม 2552 หน้าเซ็นทรัลเวิลด์ บนถนนราชดำริ มาร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในการรวมพลัง ประสานมือ ประสานใจ กับการนับถอยหลังร่วมกันเพื่อก้าวสู่ศักราชใหม่ และมาทำให้ปีใหม่ของคุณ พิเศษกว่าใครใน HANDS Bangkok Countdown 2010 นี้ โดยผู้ชมทางบ้าน สามารถรับชมการถ่ายทอดสด ผ่านทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ตั้งแต่เวลา 22.30 – 01.00 น.
HANDS by Heart Valuesความหมาย : คล้องมือ คล้องใจ ผูกพันเราไว้ด้วยกันรูปแบบ : ช่วงเวลานับถอยหลังเข้าสู่ปีใหม่ ผู้คนนับแสนคนคล้องมือกันร่วมกับผู้คนทั่วประเทศและผู้คนทั่วโลก เพื่อเป็นกำลังใจให้กันเพื่อก้าวสู่ปีใหม่ร่วมกัน


HANDS Values

HANDS For L o v e

For C a r e

For F r i e n d s h i p

For G r e e t i ng

HANDS Concept เพราะเราเชื่อว่า….ความรักไร้รูปแบบความผูกพันโยงใยผู้คน

ที่มา: http://www.sadoodta.com/news/รวมงาน-countdown-2010-ทั่วไทย-หาที่เที่ยวปีใหม่








รูปแบบของการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

รูปแบบของการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ในการทำการค้านั้นต้องประกอบด้วยอย่างน้อย 2 ฝ่ายก็คือผู้ซื้อและผู้ขาย ซึ่งผู้ซื้อและผู้ขายนั้น
ก็มีหลายๆรูปแบบ ทำให้เราสามารถจัดประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ออกเป็นประเภทหลักๆ ดังนี้

ผู้ประกอบการ กับ ผู้บริโภค (Business to Consumer - B2C) คือการค้าระหว่างผู้ค้าโดยตรงถึงลูกค้าซึ่งก็คือผู้บริโภค เช่น การขายหนังสือ ขายวีดีโอ ขายซีดีเพลงเป็นต้น
ผู้ประกอบการ กับ ผู้ประกอบการ (Business to Business – B2B) คือการค้าระหว่างผู้ค้ากับลูกค้าเช่นกัน แต่ในที่นี้ลูกค้าจะเป็นในรูปแบบของผู้ประกอบการ ในที่นี้จะครอบคลุมถึงเรื่อง การขายส่ง การทำการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบห่วงโซ่การผลิต (Supply Chain Management) เป็นต้น ซึ่งจะมีความซับซ้อนในระดับต่างๆกันไป
ผู้บริโภค กับ ผู้บริโภค (Consumer to Consumer - C2C) ในเรื่องการติดต่อระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภคนั้น มีหลายรูปแบบและวัตถุประสงค์ เช่นเพื่อการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ในกลุ่มคนที่มีการบริโภคเหมือนกัน หรืออาจจะทำการแลกเปลี่ยนสินค้ากันเอง ขายของมือสองเป็นต้น
ผู้ประกอบการ กับ ภาครัฐ (Business to Government – B2G) คือ การประกอบธุรกิจระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐ ที่ใช้กันมากก็คือเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ หรือที่เรียกว่า e-Government Procurement ในประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว รัฐบาลจะทำการซื้อ/จัดจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย เช่นการประกาศจัดจ้างของภาครัฐในเว็บไซต์ www.mahadthai.com หรือการใช้งานระบบอีดีไอในพีธีการศุลกากรของกรมศุลฯ www.customs.go.th
ภาครัฐ กับ ประชาชน (Government to Consumer -G2C) ในที่นี้คงไม่ใช่วัตถุประสงค์เพื่อการค้า แต่จะเป็นเรื่องการบริการของภาครัฐผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยเองก็มีให้บริการแล้วหลายหน่วยงาน เช่นการคำนวณและเสียภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต, การให้บริการข้อมูลประชาชนผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น เช่นข้อมูลการติดต่อการทำทะเบียนต่างๆของกระทรวงมหาดไทย ประชาชนสามารถเข้าไปตรวจสอบว่าต้องใช้หลักฐานอะไรบ้างในการทำเรื่องนั้นๆ และสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มบางอย่างจากบนเว็บไซต์ได้ด้วย

รูปแสดงตัวอย่างความสัมพันธ์ระหว่าง B2B, B2C

จากรูปจะเห็นว่า บริษัท ก.ยนต์การ เชื่อมต่อระบบสำนักงานส่วนหลังกับ ส.ชิ้นส่วนยนต์ ซึ่งถือเป็น
Supplier ซื้อชิ้นส่วนมาผลิตต่อและเชื่อมต่อกับบริษัทผลิตรถยนไทย จำกัด ซึ่งจัดเป็นลูกค้าซื้อชิ้นส่วนต่อจาก
ก.ยนต์การ นำไปใช้ประกอบในสินค้าของบริษัทผลิตรถไทย(ส่วนนี้จัดเป็น B2B) และในขณะเดียวกัน ก.ยนต์การ
ก็ได้นำชิ้นส่วนบางส่วนมาใช้ในการผลิตสินค้าจำหน่ายให้กับลูกค้ารายย่อยพร้อมกันด้วย ผ่านทางเว็บไซต์
ของบริษัท(ส่วนนี้จัดเป็น B2C)

จากการที่แบ่งประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ออกเป็นประเภทตามข้างบนนั้น ดังนั้นทำให้
สามารถจัดประเภทของช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างสองฝ่าย ออกได้เป็น 3 ช่องทางคือ

การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล ในที่นี้บุคคลจะหมายถึงทั้งองค์กร บริษัท และตัวบุคคล
การติดต่อนั้นทำผ่านได้ทั้ง รูปแบบของโทรศัพท์ โทรสาร และอีเมล์
การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลกับระบบคอมพิวเตอร์ และระหว่างระบบคอมพิวเตอร์กับบุคคล
คือการใช้งานระบบอัตโนมัติในการติดต่อสื่อสารนั่นเอง เช่น ตู้ ATM ระบบโทรศัพท์อัตโนมัติ ระบบ
FAX Back ระบบส่งอีเมล์อัตโนมัติ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าเป็นสำคัญ
การติดต่อระหว่างระบบคอมพิวเตอร์ด้วยกันเอง เป็นรูปแบบที่มีความซับซ้อนมากขึ้น
ในการติดต่อทางธุรกิจ โดยการให้ระบบคอมพิวเตอร์ของทั้งสองฝ่ายทำการติดต่อสื่อสาร
แลกเปลี่ยนข้อมูลโดยอัตโนมัติ ตามข้อกำหนดที่ได้ทำการตกลงร่วมกันไว้ อาทิ อีดีไอ
ระบบการจัดการห่วงโซ่การผลิต เป็นต้น

ที่มา:http://www.ecommerce.or.th/project/e-guide/types.html

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์




ในยุคเศรษฐกิจถดถอยเช่นปัจจุบัน นโยบายของภาครัฐ เรื่องหนึ่งคือการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ
ขนาดกลางและเล็กหรือที่ เรียกกันว่า SME สามารถทำการแข่งขันและทำการค้าได้เพิ่มขึ้น โดยมีมาตรการ
สนับสนุนต่างๆ จากหลายๆกระทรวงทบวง กรม หนึ่งในนั้นคือเรื่องการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ช่วย
ในการประกอบการค้า เทคโนโลยีสารสนเทศในที่นี้คงหนีไม่พ้นเรื่อง การใช้งานอินเทอร์เน็ตและระบบที่
เกี่ยวข้อง พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่รัฐบาลหมายมั่นจะให้ SME สามารถ
เข้าไปใช้งานได้เพื่อเพิ่มโอกาสต่างๆให้มากขึ้น

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คืออะไร

ถ้าจะกล่าวกันสั้นๆก็คือการทำ ”การค้า”ผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ นั่นเอง โดยคำว่าสื่ออิเล็กทรอนิกส์
นั้นจะครอบคลุมตั้งแต่ ระดับเทคโนโลยีพื้นฐาน อาทิ โทรศัพท์ โทรสาร โทรทัศน์ ไปจนถึงเทคโนโลยีที่มี
ความซับซ้อนกว่านี้ แต่ว่าในปัจจุบันสื่อที่เป็นที่ นิยมและมีความแพร่หลายในการใช้งานคืออินเทอร์เน็ตและ
มีการนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการทำการค้ามาก จนทำให้เมื่อพูดถึงเรื่อง พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คนส่วนใหญ่
จะเข้าใจไปว่าคือการทำการค้าผ่านอินเทอร์เน็ตนั่นเอง นอกจากนั้นปัจจุบันอาจได้ยินอีกหลายๆ คำ อาทิ
e-Business, e-Procurement, e-Readiness, e-Government ซึ่งล้วนมีความสัมพันธ์กันทั้งสิ้น
ในการที่นำเอา เทคโนโลยีด้านอินเทอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้งาน


ส่วนคำว่า e-Business นั้น คือ การดำเนินกิจกรรมทาง “ธุรกิจ” ต่างๆ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
การใช้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารและอินเทอร์เน็ต เพื่อทำให้กระบวนการทางธุรกิจ
มีประสิทธิภาพ และตอบสนองความต้องการของคู่ค้า และลูกค้าให้ตรงใจ และรวดเร็วและเพื่อลดต้นทุน
และขยายโอกาสทางการค้า และการบริการ เมื่อเข้าสู่ยุคดิจิทัลจะมีคำศัพท์ที่ได้ยินบ่อยๆ อาทิ

BI=Business Intelligence: การรวบรวมข้อมูลข่าวสารด้านตลาด ข้อมูลลูกค้า และ คู่แข่งขัน
EC=E-Commerce: เทคโนโลยีที่ช่วยทำให้เกิดการสั่งซื้อ การขาย การโอนเงินผ่านอินเทอร์เน็ต
CRM=Customer Relationship Management: การบริหารจัดการ การบริการ และการสร้างความสัมพันธ์ที่ทำให้ลูกค้าพึงพอใจกับทั้งสินค้า บริการ และ บริษัท – ระบบ CRM จะใช้ไอทีช่วยดำเนินงาน และ จัดเตรียมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการบริการลูกค้า
SCM=Supply Chain Management: การประสาน ห่วงโซ่ทางธุรกิจ ตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบ ผู้ผลิต ผู้จัดส่ง ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก จนถึงมือผู้บริโภค
ERP=Enterprise Resource Planning: กระบวนการของสำนักงานส่วนหลัง และ การผลิต เช่น การรับใบสั่งซื้อการจัดซื้อ การจัดการใบส่งของ การจัดสินค้าคงคลัง แผนและการจัดการการผลิต– ระบบ ERP จะช่วยให้ประบวนการดังกล่าวมีประสิทธิภาพและลดต้นทุน


ที่มา:http://www.ecommerce.or.th/project/e-guide/index.html

ประโยชน์ของการทำ e-commerce


ประโยชน์ของการทำ E-Commerce

Online Marketing เป็นช่องทางดำเนินธุรกิจอีกทางหนึ่ง ที่ทุกคนสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ เนื่องจาก Internet เป็นทั้งเครื่องมือการค้า ช่องทางการจำหน่าย และ ช่องทางโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้า ได้อย่างกว้างขวาง เพราะฉะนั้น E-Commerce จึงได้พลิกโฉมรูปแบบการค้า และ เปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตของเรา

ดังนั้น เราจึงไม่ควรมองข้ามตลาดออนไลน์ หรือ E-Commerece ดังกล่าวไปได้เลย เพราะสังคมออนไลน์เติบโตขึ้นทุกวัน การทำงานในรูปแบบ Work at Home ก็มีอัตราการเพิ่มขึ้นสูง ซึ่งกลุ่มคนออนไลน์เหล่านี้ จะนิยมใช้บริการออนไลน์เป็นอย่างมาก เช่น online banking, ซื้อของออนไลน์, chat, หาเพื่อน, หาคู่เดทออนไลน์ เป็นต้น ซึ่งพฤติกรรมของสังคมออนไลน์ดังกล่าว สามารถเพิ่มโอกาสทำรายได้ให้แก่ผู้ทำ E-Commerce ได้อย่างมากเลยทีเดียว

สินค้าที่นิยมนำมา ทำธุรกิจ E-Commerce ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าที่ผู้ซื้อรู้จักอยู่แล้ว ซึ่งลูกค้าเลือกซื้อได้จากทุกที่ เช่น หนังสือ ของเล่น เครื่องใช้ไฟฟ้า ดอกไม้ เครื่องประดับ เพลง video game ซอฟต์แวร์ ข้อมูลจากซีดีรอม เป็นต้น


ข้อดีของการทำ E-Commerce นั้น ช่วยทำให้ผู้ประกอบการ ประหยัดกว่า การทำธุรกิจแบบเดิม ๆ ที่ต้องส่ง catalogue ไปให้ลูกค้าเลือกซื้อ หรือ เสียค่าเช่าเปิดบูธแสดงสินค้าในงาน trade show ต่าง ๆ เพื่อโปรโมตสินค้า

ถ้า สร้างเว็บไซต์ E-Commerce บนอินเตอร์เน็ต เพื่อทำเป็นบู๊ธแสดงสินค้าถาวร ที่ลูกค้าสามารถเข้าชมได้ตลอด 24 ชั่วโมง และ ดำเนินการค้าขายได้อย่างอิสระทั่วโลก ซึ่งนับเป็นข้อดีอีกข้อของ การทำ E-Commerce

หากเราไม่อยากจะ สร้างเว็บไซต์ ของตัวเอง ซึ่งค่อนข้างยุ่งยาก เราอาจจะจ้าง บริษัทรับออกแบบเว็บ E-Commerce ช่วย สร้างเว็บไซต์ และ ดูแลเว็บไซต์ ตลอดอายุการใช้งานได้ ซึ่งจะเป็นที่รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ไว้ และ เป็นการง่ายต่อผู้ซื้อในต่างประเทศ ที่จะเลือกซื้อสินค้าได้ ซึ่ง บริการออกแบบเว็บอีคอมเมิร์ซ นี้ ClickBKK เปิดให้บริการอยู่

การทำ E-Commerce เป็นการตลาดที่ใช้ต้นทุนต่ำ เพราะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปติดต่อธุรกิจกันเลย ง่ายต่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์ สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ใช้บริการ Internet ได้ง่ายมาก ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย และ เวลาสำหรับผู้ซื้อกับผู้ขาย และ ไม่จำเป็นต้องเปิดร้านขายสินค้า ที่ต้องมีการจดทะเบียนต่าง ๆ ซึ่งเป็นเรื่องยุ่งยากพอสมควร เพียงแค่มีสินค้า และ บริการให้กับลูกค้าเท่านั้น เราก็สามารถ ดำเนินธุรกิจ E-Commerce ได้อย่างสะดวกสบายแล้ว


tags: E-commerce, การออกแบบเว็บอีคอมเมิร์ซ, บริษัทออกแบบเว็บ E-Commerce, รับทำ website, รับทำนามบัตร, รับทำเวป, รับทำเวปไซด์, รับทำเว็บ, รับทำเว็บไซด์, รับทำเว็บไซต์, รับออกแบบเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ.

ที่มา:http://www.clickbkk.com/2008/benefits-of-e-commerce.html

gift

กิจกรรมวันครู



การจัดงานวันครู
การจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงาน งานวันครูนี้ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ

การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรม ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลา ในปัจจุบันได้จัดรูปแบบการจัดงานวันครู จะมีกิจกรรม ๓ ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้ 1. กิจกรรมทางศาสนา
2. พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตน การกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์
3. กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู ส่วนมากเป็นการแข่งขันกีฬาหรือการจัดงานรื่นเริงในตอนเย็น

ปัจจุบันการจัดงานวันครู ได้มีการกำหนดให้จัดพร้อมกันทั่งประเทศ สำหรับในส่วนกลางจัดที่หอประชุมคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการจัดงานวันครู ซึ่งมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน ประกอบด้วยบุคคลหลายอาชีพร่วมกันเป็นผู้จัด สำหรับส่วนภูมิภาคมอบให้จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ โดยตั้งคณะกรรมการจัดงานวันครูขึ้นเช่นเดียวกับส่วนกลางจะจัดรวมกันที่จังหวัดหรือแต่ละอำเภอก็ได้
รูปแบบการจัดงานในส่วนกลาง (หอประชุมคุรุสภา) พิธีจะเริ่มตั้งแต่เช้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการจัดงานวันครู พร้อมด้วยครูอาจารย์และประชาชนร่วมกันใส่บาตรพระสงฆ์ จำนวน ๑,๐๐๐ รูป หลังจากนั้นทุกคนที่มาร่วมงานจะเข้าร่วมพิธีในหอประชุมคุรุสภา นายกรัฐมนตรีเดินทางมาเป็นประธานในงาน ดนตรีบรรเลงเพลงมหาฤกษ์ นายกรัฐมนตรีบูชาพระรัตนตรัย ประธานสงฆ์ให้ศีล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวรายงานต่อนายกรัฐมนตรี เสร็จแล้วพิธีบูชาบูรพาจารย์โดยครูอาวุโสนอกประจำการจะเป็นผู้กล่าวนำพิธีสวดคำฉันท์รำลึกถึงประคุณบูรพาจารย์


มารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีของครู
1. เลื่อมใสการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ
2. ยึดมั่นในศาสนาที่ตนนับถือ ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นศาสนาอื่น
3. ตั้งใจสั่งสอนศิษย์และปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เกิดผลดีด้วยความเอาใจใส่ อุทิศเวลาของตน ให้แก่ศิษย์ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่การงานไม่ได้
4. รักษาชื่อเสียงของตนมิให้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว ห้ามประพฤติการใด ๆ อันอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติและชื่อเสียงของครู
5. ถือปฏิบัติตามระเบียบและแบบธรรมเนียมอันดีงามของสถานศึกษา และปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่การงานโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนของสถานศึกษา
6. ถ่ายทอดวิชาความรู้โดยไม่บิดเบือนและปิดบังอำพราง ไม่นำหรือยอมให้นำผลงานทางวิชาการของตนไปใช้ในทางทุจริตหรือเป็นภัยต่อมนุษย์ชาติ
7. ให้เกียรติแก่ผู้อื่นทางวิชาการ โดยไม่นำผลงานของผู้ใดมาแอบอ้างเป็นผลงานของตน และไม่เบียดบังใช้แรงงานหรือนำผลงานของผู้อื่นไป เพื่อประโยชน์ส่วนตน
8. ประพฤติตนอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต และปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความเที่ยงธรรมไม่แสวงหาประโยชน์สำหรับตนเอง หรือผู้อื่นโดยมิชอบ
9. สุภาพเรียบร้อยประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ รักษาความลับของศิษย์ ของผู้ร่วมงานและของสถานศึกษา
10. รักษาความสามัคคีระหว่างครูและช่วยเหลือกันในหน้าที่การงาน


ที่มา:http://www.zabzaa.com/event/teacher.htm

ประวัติวันครู

ความหมาย
ครู หมายถึง ผู้อบรมสั่งสอน; ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ

ความเป็นมา
วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษา ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู ด้วยเหตุนี้ในทุก ๆ ปี คุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และซักถามปัญหาข้อข้องใจต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัยสถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า“ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บันดาลูกศิษย์ทั้งหลาย ได้แสดงความเคารพสักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับคนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง” จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความคิดเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่น ๆ ที่ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มีวันครูเพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครูกันประชาชน ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ ให้วันที่ ๑๖ มกราคมของทุกปีเป็น “วันครู” โดยเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๘ เป็นวันครูและให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้





ที่มา:http://www.zabzaa.com/event/teacher.htm

ปีใหม่ที่จังหวัดกาญจนบุรี



จังหวัดกาญจนบุรี

งานสัมผัสอากาศเย็นเด่นในตำนานเหมืองแร่ที่ปิล็อก “ดินแดนแห่งสายหมอกและป่าฝนหนาว” สถานที่: บ้านอีต่อง ตำบลปิล็อก อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรีวันจัดงาน: 30 ธันวาคม 2552 – 1 มกราคม 2553
กิจกรรม
-เที่ยวชมธรรมชาติในพื้นที่อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ
-ชมตลาดเช้าเมืองชายแดนบ้านอีต่อง ชิมอาหารพื้นเมืองรสชาติประทับใจ

-ชมนิทรรศการเหมืองแร่
-ชมอุโมงค์การทำเหมืองขุดในอดีต การสาธิตร่อนแร่
-จัดแสดงปูราชินีและเต่าหกขา
-การประกวดธิดาสายหมอกนานาชาติ
-การแสดงพื้นเมือง อาทิ ระบำเนปาล รำตง ระบำ/ละครพม่า
-กิจกรรมเคาท์ดาวน์
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม:องค์การบริหารส่วนตำบลปิล็อก โทร. 0 3459 9568


ที่มา:http://www.sadoodta.com/news/%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99-countdown-2010-%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88

"Happy New Year 2010 "

งานวันขึ้นปีใหม่
งานวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันเทศกาลที่ประชาชนมีประเพณีทำบุญ และมีงานรื่นเริงต่าง ๆ ได้แก่มหรสพ หรือการละเล่นพื้นเมือง รวมทั้งการเที่ยวเตร่หาความสนุกสนาน เป็นการเฉลิมฉลองการขึ้นปีใหม่ เพื่อความสุข และความมีศิริมงคล งานวันปีใหม่นิยมมีงานสองวันติดต่อกัน คือวันสิ้นปีเก่า และวันขึ้นปีใหม่ประเทศไทยได้กำหนดเอาวันที่ ๑ เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่มาตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๔๓๒ และได้เปลี่ยนมาเป็นวันที่ ๑ มกราคม ตามแบบสากล เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๔ สมัยเมื่อใช้วันที่ ๑ เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ มีการจัดงานพระราชพิธีส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ต่อเนื่องกันเป็นพระราชพิธีตรุษ และพระราชพิธีเถลิงศกสงกรานต์ เริ่มต้นงานตั้งแต่วันที่ ๒๘ มีนาคม ไปสิ้นสุดในวันที่ ๒ เมษายน ในระหว่างนี้มีงานบำเพ็ญพระราชกุศล และงานพระราชพิธีอื่นแทรกหลายอย่าง ปัจจุบันเมื่อเปลี่ยนเป็นวันที่ ๑ มกราคมเป็นวันขึ้นปีใหม่งานพระราชพิธีอย่างเก่าจึงเปลี่ยนแปลงไป และยกเลิกไปก็มีมีการแยกงานพระราชพิธีตรุษ และพระราชพิธีเถลิงศก สงกรานต์เป็นสองงานคือ พระราชพิธีขึ้นปีใหม่งานหนึ่ง และพระราชพิธีสงกรานต์อีกงานหนึ่งพระราชพิธีขึ้นปีใหม่ คงจัดให้มีแต่การพระราชกุศลทรงบาตร เรียกว่า พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทรงบาตรวันขึ้นปีใหม่ กำหนดทรงบาตรในตอนเช้าวันขึ้นปีใหม่ ต่อมาเห็นว่าไม่สดวกทั้งฝ่ายสงฆ์และฝ่ายฆราวาส เพราะในวันขึ้นปีใหม่ได้มีงานบำเพ็ญกุศล ฉลองวันขึ้นปีใหม่กันทั่วไป ทั้งทางราชการ และประชาชน จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้กำหนดเป็นวันที่ ๓๑ ธันวาคม ของปีเก่าแทนสมัยก่อนพระสงฆ์ที่นิมนต์มารับบิณฑบาตในพระบรมมหาราชวังต้องใช้บาตรมีถลกสพาย พร้อมกับถือย่าม สำหรับผลไม้และของหวาน ปัจจุบันใช้อุ้มบาตรอย่างบิณฑบาตธรรมดา แต่ถือย่ามด้วย งานพระราชพิธีทรงบาตรวันขึ้นปีใหม่ บางปีก็นิมนต์พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ตามวัดต่าง ๆ มีจำนวน ๕๒๕ รูปบ้าง ๕๐๐ รูปบ้าง แบ่งออกเป็นสาย ๆ ละ ๒๕ รูป เว้นแต่สายที่เข้ารับพระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สายนี้นิมนต์พระสงฆ์ ๕๐ รูป มีสมเด็จพระราชาคณะ หรือพระราชาคณะผู้ใหญ่เป็นหัวหน้าสายนำเข้ารับ ผู้ที่เตรียมของมาใส่บาตรจึงเตรียมมาให้พอดีกับ จำนวนพระ ๒๕ รูป เมื่อพระสงฆ์รับบิณฑบาตหมดเรียบร้อยแล้ว ทุกสายแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงทักทายปราศรัยกับท่านที่มาตั้งบาตร ได้เวลาอันสมควรแล้วจึงเสด็จขึ้น
สำหรับงานของทางราชการ และประชาชนในวันขึ้นปีใหม่ จะมีตั้งแต่คืนวันที่ ๓๑ ธันวาคม จนถึงวันที่ ๑ มกราคม คือในวันสิ้นปีทางราชการ หรือประชาชนในท้องถิ่นต่าง ๆ จะจัดให้มีการรื่นเริงและมหรสพจนเที่ยงคืน มีการเชิญบุคคลสำคัญของบ้านเมืองเช่น ประธานรัฐสภา นายกรัฐมนตรี ประธานศาลฎีกา กล่าวคำปราศรัยทางสื่อมวลชนต่าง ๆ และในตอนสุดท้ายก่อนถึงเวลา ๒๔.๐๐ น. ก็จะมีพระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพรปีใหม่แก่ประชาชน สมเด็จพระสังฆราชประทานพรปีใหม่แก่พุทธศาสนิกชน เมื่อถึงเวลา ๒๔.๐๐ น. วัดวาอารามต่าง ๆ จะจัดพระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา ย่ำฆ้องกลองประโคม โดยทั่วกัน
ตอนเช้า ๑ มกราคม จะมีการทำบุญตักบาตรที่วัดหรือที่ใด ๆ สุดแต่จะพอใจ
ที่มา:
http://www.watkoh.com/forum/index.php?topic=490.0