จรรยามารยาทบนอินเทอร์เน็ต

จรรยามารยาทบนอินเทอร์เน็ต (Netiquette)
ทุกวันนี้อินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทและส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ในแทบทุกด้าน รวมทั้งได้ก่อให้เกิดประเด็นปัญหาขึ้นในสังคม ไม่ว่าในเรื่อง ความเป็นส่วนตัว ความปลอดภัย เสรีภาพของการพูดอ่านเขียน ความซื่อสัตย์ รวมถึงความตระหนักในเรื่องพฤติกรรมที่เราปฏิบัติต่อกันและกันในสังคมอินเทอร์เน็ต ในบทความนี้ผู้เขียนขอทบทวนเรื่อง จรรยามารยาทบนอินเทอร์เน็ตหรือที่เรียกกันในกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตว่า “Netiquette” เพื่อให้เป็นของฝากสำหรับสมาชิกใหม่ที่เรียกกันว่า “Net Newbies” และให้เป็นของแถมเพื่อการทบทวนสำหรับนักท่องเน็ตที่เป็น “ขาประจำ”

บัญญัติ 10 ประการสำหรับผู้เริ่มต้น
ถ้าศึกษาค้นคว้าในเรื่อง Netiquette บนเว็บ จะพบการอ้างอิงและกล่าวถึง The Core Rules of Netiquette จากหนังสือเรื่อง “Netiquette” เขียนโดย Virginia Shea ซึ่งเธอได้บัญญัติกฎกติกาที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตพึงตระหนักและยึดเป็นแนวปฏิบัติ 10 ข้อ ดังนี้

Remember the Human
กฏข้อที่ 1 เป็นข้อเตือนใจสำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในขณะที่เรานั่งพิมพ์ข้อความเพื่อติดต่อสื่อสารผ่านจอคอมพิวเตอร์นั้น ต้องไม่ลืมว่าปลายทางอีกด้านหนึ่งของการสื่อสารนั้นที่จริงแล้วก็คือ “มนุษย์”

Adhere to the same standards of behavior online that you follow in real life
กฎข้อที่ 2 เป็นหลักคิดง่าย ๆ ที่อาจจะยึดเป็นแนวปฏิบัติ หากไม่รู้ว่าควรจะทำตัวอย่างไร ก็ให้ยึดกติกามารยาทที่เราถือปฏิบัติในสังคมมาเป็นบรรทัดฐานของการอยู่ร่วมกันแบบออนไลน์

Know where you are in cyberspace
กฎข้อที่ 3 เป็นข้อแนะนำให้เราใช้งานอย่างมีสติ รู้ตัวว่าเรากำลังอยู่ ณ ที่ใด เมื่อเข้าในพื้นที่ใหม่ ควรศึกษาและทำความรู้จักกับชุมชนนั้น ก่อนที่จะเข้าร่วมสนทนาหรือทำกิจกรรมใด ๆ

Respect other people's time and bandwidth
กฎข้อที่ 4 ให้รู้จักเคารพผู้อื่นด้วยการตระหนักในเรื่องเวลา ซึ่งจะสัมพันธ์กับขนาดช่องสัญญาณของการเข้าถึงเครือข่าย นั่นคือ ให้คำนึงถึงสาระเนื้อหาที่จะส่งออกไป ไม่ว่าจะเป็นในกลุ่มสนทนาหรือการส่งอีเมล เราควรจะ “คิดสักนิดก่อน submit” ใช้เวลาตรึกตรองสักหน่อยว่า ข้อความเหล่านั้นเหมาะสมหรือมีสาระประโยชน์กับใครมากน้อยเพียงใด

Make yourself look good online
กฎข้อที่ 5 เป็นข้อแนะนำผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับการเขียนและการใช้ภาษา เนื่องจากปัจจุบันวิธีการสื่อสารบนเน็ตใช้การเขียนและข้อความเป็นหลัก การตัดสินว่าคนที่เราติดต่อสื่อสารด้วยเป็นคนแบบใด จะอาศัยสาระเนื้อหารวมทั้งคำที่ใช้ ดังนั้น ถ้าจะให้ “ดูดี” ก็ควรใช้ถ้อยคำที่เหมาะสมและตรวจสอบคำสะกดให้ถูกต้อง

Share expert knowledge
กฎข้อที่ 6 เป็นข้อแนะนำให้เรารู้จักใช้จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบของอินเทอร์เน็ต นั่นคือ การใช้เครือข่ายเพื่อเปิดโอกาสในการแลกเปลี่ยน ”ความรู้” รวมทั้งประสบการณ์กับผู้คนจำนวนมาก ๆ ซึ่งเป็นแนว
คิดที่ถือว่าเป็นจุดกำเนิดของอินเทอร์เน็ตนั่นเอง

Help keep flame wars under control
กฎข้อที่ 7 เป็นข้อคิดที่ต้องการให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตได้ร่วมมือกันเพื่อช่วยควบคุมและลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการส่งความคิดเห็นด้วยการใช้คำที่หยาบคาย เติมอารมณ์ความรู้สึกอย่างรุนแรงจนเป็นชนวนให้เกิดกรณีทะเลาะวิวาทกันในกลุ่มสมาชิก ซึ่งรู้จักกันในกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตว่า “flame”

Respect other people's privacy
กฎข้อที่ 8 เป็นคำเตือนให้เรารู้จักเคารพในความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น เช่นไม่อ่านอีเมลของผู้อื่น เป็นต้น

Don't abuse your power
กฎข้อที่ 9 เป็นคำเตือนสำหรับผู้ที่ได้รับสิทธิพิเศษ เช่น ผู้ดูแลระบบบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งมักจะได้รับสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่น บุคคลเหล่านี้ก็ไม่ควรใช้อำนาจหรือสิทธิ์ที่ได้รับไปในทางที่ไม่ถูกต้องและเป็นการเอาเปรียบผู้อื่น

Be forgiving of other people's mistakes
กฎข้อที่ 10 เป็นคำแนะนำให้เรารู้จักให้อภัยผู้อื่น โดยเฉพาะพวก newbies ในกรณีที่พบว่าเขาทำผิดพลาดหรือไม่เหมาะสม และหากมีโอกาสแนะนำคนเหล่านั้น ก็ควรจะชี้ข้อผิดพลาดและให้คำแนะนำอย่างสุภาพ โดยอาจส่งข้อความแจ้งถึงผู้นั้นโดยตรงผ่านทางอีเมล

ที่มา:http://http://cc.swu.ac.th/ccnews/content/e1624/e1950/e3918/e3949/index_th.html

เครือข่ายอินเตอร์เน็ต


เครือข่ายอินเตอร์เน็ต





อินเทอร์เน็ต (อังกฤษ: Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (Protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลายๆ ทาง อาทิเช่น อีเมลเว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่างๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยการเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย แต่ในครั้งนั้นยังเป็นการ เชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้าและไม่เป็นการถาวร จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2535
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เข้าด้วยกันเรียกว่า "เครือข่ายไทยสาร"
การให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยได้เริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ เดือน มีนาคม พ.ศ. 2538 โดยความร่วมมือของรัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยให้บริการในนาม บริษัท อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย (Internet Thailand) เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์รายแรกของประเทศไทย

จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้ ปี 2534 (30คน) ปี 2535 (200 คน) ปี 2536 (8,000 คน) ปี 2537 (23,000 คน).... ในปี 2550 จากจำนวนประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไปประมาณ 59.97 ล้านคน พบว่า มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ 16.04 ล้านคน คิดเป็น ร้อยละ 26.8 และมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 9.32 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 15.5 เมื่อพิจารณาตามภาคพบว่า กรุงเทพฯ มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 40.2 และอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 29.9 รองลงมาคือ ภาคกลางมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 27.5 และอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 15.7 ภาคเหนือมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 26.0 และอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 15.6 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 22.9 และอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 11.9 ภาคใต้มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 25.2 และอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 12.7

วนอุทยานโกสัมพี




วนอุทยานโกสัมพี/ Kosamphi Forest Park

ข้อมูลทั่วไป

วนอุทยานโกสัมพีอยู่ในท้องที่หมู่ที่ 1 ตำบลหัวขวาง ในเขตสุขาภิบาล อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม มีเนื้อที่ประมาณ 125 ไร่ กรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2519

ลักษณะภูมิประเทศ

ป่าหนองบุ้งเป็นป่าดงดิบมีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบอยู่ริมแม่น้ำชี ในเขตสุขาภิบาล อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ภายในบริเวณป่าหนองบุ้ง ซึ่งเป็นหนองน้ำธรรมชาติ ขนาดเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ มีน้ำตลอดอีกประมาณ 1- 1.50 เมตร บริเวณป่าหนองบุ้ง

ด้านทิศใต้มีอาณาเขตติดต่อกับถนนข้างมณฑปหลวงพ่อมิ่งเมือง และวัดกลางโกสุมพิสัย จะมีลักษณะเป็นป่าดงดิบตามธรรมชาติมาตั้งแต่เดิม เนื้อที่ประมาณ 60 ไร่ และบริเวณที่อยู่ถัดลงไป

ทางด้านทิศตะวันตกจนจดลำชีหลง เนื้อที่ประมาณ 45 ไร่พืชพรรณและสัตว์ป่า มีพรรณไม้หลายชนิดส่วนใหญ่ที่สำคัญได้แก่ กะเบา ยาง ชมภู่ป่า หว้า ทองกวาว กระโดดสำหรับไม้พื้นล่างส่วนใหญ่ ได้แก่ เถาวัลย์เปรียง หวาย ตดตะกั่ว มะดัน นมแมว คัดเค้า และไม้ไผ่ นอกจากนั้นยังมีต้นจามจุรี หรือก้ามปู ซึ่งชาวบ้านนำไปปลูกไว้ นอกจากจะมีพรรณไม้ดังกล่าวมาแล้ว ยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยไม้มีค่านานาชนิด อาทิเช่น มะค่าโมง ตะเคียนทอง ตะแบกใหญ่ เป็นต้น สัตว์ป่าที่ยังมีเหลืออยู่ในปัจจุบันที่สำคัญได้แก่ ลิง ซึ่งมีอยู่ 2 ฝูง จำนวนประมาณ 500 ตัว และยังมีนกกางเขนบ้าน นกกิ้งโค้ง นกสาริกา นกเอี้ยงหงอน นกปรอดสวน นกปรอดหัวโขน นกอีเสือหัวดำ และพวกนกกระจิบธรรมดา ป่าหนองบุ้ง ป่าหนองบุ้งเป็นป่าดงดิบตามธรรมชาติและมีศาลเจ้าปู่ ซึ่งเป็นที่เคารพบูชานับถือของชาวบ้านท้องถิ่นเป็นคู่บ้านคู่เมืองของชาวอำเภอโกสุมพิสัยมาตั้งแต่เดิม และยังเป็นป่าดงดิบตามธรรมชาติที่อยู่ใกล้ชุมชนที่สุดแห่งหนึ่งและยังมีลิงวอกอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นลิงวอกชนิดเดียวกับลิงวอกที่อยู่ในศาลพระกาฬ จังหวัดลพบุรี ต่อมากรมป่าไม้จึงได้ทำการสำรวจพื้นที่และจัดตั้งเป็นวนอุทยาน เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติไว้เพื่อศึกษาและเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนทั่วไป
สถานที่ติดต่อวนอุทยานโกสัมพีต.หัวขวาง อ. โกสุมพิสัย จ. มหาสารคาม 44140โทรศัพท์ 0 4334 3411-4
การเดินทาง

รถยนต์ การเดินทางไปวนอุทยานโกสัมพี อำเภอดกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม นั้นสะดวกสบายมากที่สุด คือไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 208 จังหวัดมหาสารคาม ไปตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ประมาณ 28 กิโลเมตร ก็จะถึงวนอุทยานโกสัมพี อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม หรือจะเดินทางจากตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่นก็ได้ ระยะทางประมาณ 28 กิโลเมตรเช่นกัน

สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดมหาสารคาม


พระธาตุนาดูน
เป็นโบราณวัตถุที่มีอายุมากว่า 1,300 ปี ขุดพบเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2522 บนที่นาของนายทองดี ปะวะภูตา ราษฏรบ้านนาดูน ต.นาดูน อ.นาดูน จังหวัดมหาสารคาม การค้นขุดค้นพบตอนแรก ขุดได้โดยคนหลายกลุ่มคน แต่เมื่อเจ้าหน้าที่หน่วยศิลปากรที่ 7 ขอนแก่น ได้ติดตามวัตถุในส่วนที่เกี่ยวข้องกัน จากส่วนหนึ่งที่ขุดได้ ก็สามารถนำมารวมกัน ปรากฏว่า ต่อเข้ากันได้รูปทรง เหมาะสมกันดีมาก มีการพิสูจน์อีกครั้งว่าสถูปนี้ใช้สำหรับบรรจุสิ่งใด ผลการตรวจ พิสูจน์รายละเอียดวัตถุโบราณชิ้นนี้แล้ว ลงความเห็นว่าเป็นสถูปที่ใช้บรรจุพระ สารีริกธาตุ ลักษณะสถูปทำด้วยทองสำริด มีส่วนประกอบ 2 ส่วนคือ 1.ส่วนยอด มีลักษณะ เป็นปล้องไฉน จำนวน 2 ปล้อง ส่วนบนสุดเป็นปลียอดกลม
2. ตัวสถูปทำด้วยทองสำริด มีลักษณะคล้ายระฆัง หรือโอคว่ำ ส่วนยอดของ ตัวสถูป จะรับเข้ากับส่วนล่างสุดของส่วนยอดพอดี
ในการขุดครั้งนั้น ชาวบ้าน รวมทั้งผู้คนทั่วสารทิศ ขุดได้พระพิมพ์ต่าง ๆ ได้หลาย สิบกระสอบ และในปัจจุบันวัตถุเหล่านั้น บูชากันราคาระดับต้น ๆ ของเมืองไทย กราบพระธาตุนาดูน ณ พุทธมณฑลอีสาน และศึกษาประวัติได้ที่พระธาตุนาดูน อ.นาดูน จ.มหาสารคาม หรือ web site การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

ที่มา:http://http://www.rd.go.th/mahasarakham/59.0.html

อินเทอร์เน็ต (Internet) มาจากคำว่า Inter และ net

1. อินเทอร์ (Inter) คือ ระหว่าง หรือท่ามกลาง
2. เน็ต (Net) คือ เครือข่าย (Network)
อินเทอร์เน็ต (Internet) คือ เครือข่ายนานาชาติ ที่เกิดจากเครือข่ายเล็ก ๆ มากมาย รวมเป็นเครือข่ายเดียวกันทั้งโลก คือ เครือข่ายสื่อสาร ซึ่งเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ที่ต้องการเข้ามาในเครือข่าย คือ การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย คือ เครือข่ายของเครือข่าย